
-
-
ข้อความ
-
ตั้งค่า
- FAVORITES
-
หน้าข่าว
-
บล็อกของฉัน
-
My Products
-
Saved Posts
- ADVERTISING
-
Ads Manager
-
Boosted Posts
-
Boosted Pages
- EXPLORE
-
ผู้คน
-
Pages
-
กลุ่ม
-
Events
-
Blogs
-
ทะเบียนอาหารสัตว์
วิธีรักษาสุนัขเป็นอัมพาต โรคพยาธิใน เม็ดเลือด สุนัข โรคอัมพาตจากเห็บในสุนัข โรค กล้าม เนื้ออ่อน แรง ในสุนัข อาการ พยาธิในสุนัข สุนัข ขาหลัง ไม่มี แรง รักษา พยาธิ เม็ดเลือด ทำให้ ขาหลัง อ่อน แรง พยาธิ เม็ดเลือด ในสุนัข รักษา โรค เห็บหมัด สุนัข
สุนัขไม่มีแรง เดินเซ อาการ ขา สุนัข ไม่มี แรง โกลเด้น ขาหลังไม่มีแรง โกลเด้น เจ็บขา ลาบราดอร์ ขาหลังไม่มีแรง
Posted 2021-06-11 05:46:30
โรคพยาธิในเม็ดเลือด เกิดจากการติดเชื้อของสัตว์เซลล์เดียวในเม็ดเลือด ไม่ว่าจะเป็นเชื้อโปรโตซัวและริคเก็ตเซีย ได้แก่ บาบิเซีย (Babesia sp.) เฮปปาโตซูน (Hepatozoon sp.) เออร์ลิเชีย (Ehrlichia sp.) อะนาพลาสมา (Anaplasma sp) และบาร์โทเนลล่า (Bartonella sp.) แต่ที่พบได้บ่อยในบ้านเราคือ 3 ตัวแรก
ซึ่งชื่ออาจจะคล้ายกับโรคพยาธิหนอนหัวใจ แต่อย่าสับสนกันนะครับ เป็นคนละโรคกัน เพราะโรคพยาธิหนอนหัวใจติดจากยุงเป็นพาหะ ส่วนโรคพยาธิในเม็ดเลือดติดจากเห็บเป็นพาหะ เราเรียกรวมๆ กันว่า โรคที่ติดต่อจากเห็บ (Tick-borne diseases)
พยาธิเม็ดเลือด ขาหลังอ่อนแรง
สำหรับความชุกของโรคนี้ในบ้านเราถือว่าค่อนข้างสูงพบได้ทั้งปี ซึ่งส่วนตัวผมเองก็พบน้องมาที่ป่วยด้วยโรคนี้แวะเวียนเข้ามารักษาเป็นประจำแทบจะทุกเดือนก็ว่าได้ เพราะโรคนี้เป็นโรคที่พบในสุนัขทุกเพศ ทุกพันธุ์ และทุกวัยเลยครับ แถมยังส่งผลต่อระบบต่างๆ ของร่างกายได้เป็นวงกว้าง นั่นจึงเป็นโอกาสที่สามารถทำให้น้องหมาอาจเสียชีวิตได้ หากไม่ได้ทำการรักษาได้ทันท่วงที
เรามาแยกทำความรู้จักกับเชื้อที่ทำให้เกิดเป็นโรคพยาธิในเม็ดเลือดไปทีละตัวกันนะครับ มาดูสิว่าเชื้อแต่ละตัว ก่อให้เกิดอาการกับน้องหมาได้อย่างไรบ้าง
บาบิเซีย พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลายชนิด แต่ที่พบในน้องหมาชื่อว่า Babesia canis, Babesia gobsoni ก่อให้เกิดโรค Babesiosis ติดจากการที่สุนัขถูกเห็บที่มีเชื้อกัดหรือติดจากการถ่ายเลือด ซึ่งตัวเชื้อจะเข้าไปอยู่ในเม็ดเลือดแดง โดยมีระยะฟักตัวประมาณ 10-21 วัน
อาการที่พบ คือ น้องหมาจะมีไข้สูง ซึม ไม่อยากกินอาหาร ไม่อยากเคลื่อนไหว โลหิตจาง เยื่อเมือกซีดมาก อาจมีดีซ่านร่วมด้วย ปัสสาวะสีแดงเข้ม (สีโค้ก/โคล่า) ในรายที่เป็นรุนแรง
เฮปปาโตซูน พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลายชนิดเช่นกัน แต่ที่พบในน้องหมาชื่อว่า Hepatozoon canis, Hepatozoon americanum ก่อให้เกิดโรค Hepatozoonosis โดยน้องหมาจะติดเชื้อจากการที่กินตัวเห็บที่มีเชื้อเข้าไปหรือติดจากการถ่ายเลือดและปลูกถ่ายอวัยวะ เมื่อเชื้อเข้าไปอยู่ในลำไส้จะชอนไชทะลุผ่านผนังลำไส้ เข้าไปตามกระแสเลือดไปอยู่ตามต่อมน้ำเหลือง ม้าม ตับ ปอดและไขกระดูก และจะพบเชื้อได้ในเม็ดเลือดขาวชนิด neutrophil
อาการที่พบจะมีได้หลากหลาย เช่น ซึม เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เยื่อเมือกซีด โลหิตจาง มีไข้สูง มีน้ำมูก มีขี้ตา เป็นอัมพาตขาหลัง ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของน้องหมาด้วย ส่วนใหญ่ถ้าภูมิคุ้มกันดีจะไม่ค่อยแสดงอาการ แต่จะเป็นแบบเรื้อรังแทน เช่น เม็ดเลือดถูกทำลายมาก จนเกิดดีซ่าน ทำให้เยื่อเมือกมีสีเหลือง ส่วนน้องหมาที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดีหรือน้องหมาเด็กจะแสดงอาการรุนแรงและอาจเสียชีวิตได้
เออร์ลิเชีย พบได้ในสุนัขและม้า แต่ที่พบในน้องหมามีชื่อว่า Ehrlichia canis ซึ่งก่อให้เกิดโรค Canine ehrlichiosis ติดจากการที่ถูกเห็บที่มีเชื้อกัดหรือติดจากการถ่ายเลือด ซึ่งเชื้อจะเข้าไปอยู่ในเม็ดเลือดขาวชนิด monocyte และ neutrophil โดยมีระยะฟักตัวอยู่ที่ 7-12 วัน
อาการที่พบ คือ ทำให้น้องหมามีไข้สูง ซึม เบื่ออาหาร โลหิตจาง มีขี้ตา มีน้ำมูก และมีเลือดกำเดาไหล เนื่องจากโรคนี้ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกล็ดเลือดต่ำ พอเลือดไหลก็จะหยุดได้ยาก และอาจพบจุดเลือดออกบริเวณตาขาว เหงือกและผิวหนังได้ ในรายที่ภูมิคุ้มกันไม่ดีจะแสดงอาการแบบเฉียบพลัน ส่วนรายทีมีภูมิคุ้มกันดีจะแบบอาการแบบเรื้อรัง (แสดงอาการใน 30-120 วัน) ซึ่งจะทำให้ปัสสาวะมีแดงเข้ม (สีโค้ก/โคล่า) มีภาวะแทรกซ้อมตามมากมาย เช่น ภาวะไตวาย ไขกระดูกทำงานบกพร่อง ม้ามโต และอาจเสียชีวิตได้จากภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว
จะทราบได้อย่างไรว่าเป็น หากดูจากอาการเพียงอย่างเดียวอาจยังสรุปได้ยาก เนื่องจากมีอาการที่ไม่จำเพาะ ส่วนใหญ่จะเริ่มด้วยอาการซึม เบื่ออาหาร ดังนั้นการซักประวัติเพิ่มเติมโดยละเอียด ตลอดจนข้อมูลความชุกของเห็บบนตัวน้องหมาและในสิ่งแวดล้อมที่น้องหมาอยู่จึงมีส่วนสำคัญ แต่สิ่งที่ช่วยยืนยันได้ดีที่สุด คือ การตรวจดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด และการย้อมสีแผ่นสไลด์ของเลือดแล้วส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ครับ
แต่ในปัจจุบันคุณหมอก็มีเครื่องมือสำหรับใช้ตรวจยืนยันโรคนี้มากมาย เช่น การตรวจหาแอนติบอดี้ของเชื้อจากเลือด ซึ่งทำให้ทราบผลได้รวดเร็ว แต่วิธีนี้ก็ไม่สามารถแยกแยะได้ว่า แอนติบอดี้ที่ตรวจพบนั้นเป็นผลมาจากการติดเชื้อจากในอดีตหรือไม่ อีกวิธีคือการตรวจด้วย PCR ซึ่งได้ผลแม่นยำ แต่ราคาค่อนข้างแพง
สำหรับการรักษาก็จะแยกไปตามชนิดของเชื้อครับ หากน้องหมาป่วยด้วยเชื้อเออร์ลิเชียคุณหมอจะฉีดยาหรือจ่ายยาในกลุ่ม tetracycline ให้ป้อนกินติดต่อกันอย่างน้อย 21-28 วัน ร่วมกับการรักษาตามอาการ เช่น หากมีภาวะโลหิตจางก็ต้องให้ยาบำรุงเลือดหรือถ่ายเลือดให้ เป็นต้น
ส่วนกรณีที่ป่วยด้วยเชื้อบาบิเซียและเฮปปาโตซูน คุณหมอจะรักษาด้วยการฉีดยา เช่น กลุ่ม aromatic diamidine (Imidocarb) จำนวนสองครั้ง โดยฉีดห่างกัน 14 วัน แต่ยานี้เป็นสารเคมีซึ่งมีผลข้างเคียงทำให้ไอ น้ำลายไหล จึงจำเป็นต้องให้ร่วมกับในกลุ่ม anti-colinergic เพื่อลดผลข้างเคียงดังกล่าว
แต่ไม่ว่าจะติดเชื้อชนิดใดก็ตาม หลังจากการรักษา ก็ควรจะต้องมีการตรวจเลือดซ้ำ เพื่อประเมินสภาพไปเป็นระยะๆ ครับ ซึ่งโรคพยาธิในเม็ดเลือดนี้ บางเชื้อ เช่น เฮปาโตซูนอาจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจากเชื้อสามารถซ่อนตัวอยู่ในตับ ม้าม และต่อมน้ำเหลืองได้ เมื่อสัตว์ที่เคยเป็นโรคนี้อ่อนแอลง ก็อาจจะกลับมาป่วยได้อีก
และตราบใดที่ยังมีเห็บอยู่ในสภาพแวดล้อม น้องหมาก็พร้อมที่จะกลับติดเชื้อและป่วยได้ใหม่อีกครั้งเช่นกัน ที่สำคัญ คือ ควรต้องป้อนยาให้ครบตามที่คุณหมอจัดให้ เพราะมีเจ้าของบางท่านที่มักจะหยุดป้อนยาเมื่อน้องหมามีอาการดีขี้น ซึ่งทำให้การรักษาไม่ได้ประสิทธิภาพ และโรคอาจพัฒนาเป็นแบบเรื้อรังในที่สุด
สูตร การควบคุมป้องกันโรคพยาธิในเม็ดเลือด = การควบคุมป้องกันเห็บ
สมการนี้เป็นสูตรสำเร็จที่เข้าใจได้ง่าย เพราะเห็บไม่มา หมาย่อมไม่ป่วย ซึ่งผมมักจะแนะนำเจ้าของให้กำจัดเห็บทั้งบนตัวน้องหมาและในสิ่งแวดล้อมที่น้องหมาอยู่ควบคู่กันไป เพราะหากไม่กำจัดตามสิ่งแวดล้อมแล้ว เห็บพวกนี้ก็จะกระโดดกลับมาอาศัยอยู่บนตัวน้องหมาได้ใหม่ไม่สิ้นสุด ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์สำหรับกำจัดเห็บมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ยาฉีด ยาหยอดหลัง ยาพ่น แชมพู สวมปลอกคอ ฯลฯ ให้เราได้เลือกใช้ แต่อย่างไรก็ต้องใช้อย่างระมัดระวังด้วย เพราะส่วนใหญ่จะเป็นสารเคมี ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอันตรายกับทั้งคนและน้องหมา หากใช้ไม่ถูกหรือใช้ในปริมาณที่มากเกินไป
อันตรายที่ควรรู้...โรคพยาธิเม็ดเลือดบางเชื้อสามารถติดต่อสู่คนได้ คือ Ehrlichia sp. และ Anaplasma sp. ผ่านทางการถูกเห็บสุนัขที่มีเชื้อกัดโดยไม่รู้ตัว ซึ่งจะทำให้คนแสดงอาการต่อมน้ำเหลืองโต มีไข้ และปวดศีรษะ เรียกโรคนี้ในคนว่า "human granulocytic ehrlichiosis"
ท้ายนี้อยากเน้นย้ำว่า ไม่จำเป็นเสมอไปที่การไม่เห็นตัวเห็บเลย แล้วน้องหมาจะไม่ป่วย เพราะแค่เห็บเพียงตัวเดียวก็สามารถนำโรคมาสู่น้องหมาได้แล้วครับ อย่าลืมว่าเห็บมันกระโดดขึ้นๆ ลงๆ ไปมาได้ การป้องกันเห็บและหมั่นพาน้องหมาไปตรวจเลือดเป็นประจำอย่างน้อยๆ ปีละ 2 ครั้ง จึงเป็นสิ่งที่ควรต้องทำอย่างสม่ำเสมอครับ
ยารักษาสุนัขขาอ่อนแรง,
ที่นอนสุนัขอัมพาต,
สุนัขเป็นแผลกดทับ,
แมวเป็นอัมพาต รักษา,
ยา กระตุ้น ปลายประสาท สุนัข,
แมวเป็นอัมพาต อาการ,
แมวขาหลังอ่อนแรง เกิดจากอะไร,
กายภาพบําบัดสุนัขเดินไม่ได้
บทความโดย: หมอต้น Dogilike.com
น.สพ.ธีรภาพ มุสิกานนท์
ส่งข้อความ
สนับสนุน
สั่งซื้อ CalFlex ตอนนี้ลดราคาจาก 1280 บาท เหลือ 1150 บาทเท่านั้น เลขจดแจ้ง 0108640006
แคตตาล็อก
- Japan
- chat
- vs
- ภาษาหมา
- Golden Retriever โกลเด้น
- Labrador Retriever ลาบราดอร์
- Siberian Husky ไซบีเรียน ฮัสกี้
- Pug ปั๊ก
- Beagle บีเกิ้ล
- Pomeranian ปอมเมอเรเนียน
- Chihuahua ชิวาวา
- Shihtzu ชิห์สุ
- บางแก้ว
- หมา แมว
- สุนัขไม่มีแรง เดินเซ อาการ ขา สุนัข ไม่มี แรง โกลเด้น ขาหลังไม่มีแรง โกลเด้น เจ็บขา ลาบราดอร์ ขาหลังไม่มีแรง
- สุนัข กระเพาะปัสสาวะอักเสบ รักษา สุนัข กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ค่ารักษา สมุนไพรรักษานิ่วในสุนัข อาการกระเพาะปัสสาวะแตกในสุนัข อาหาร สุนัข กระเพาะปัสสาวะอักเสบ สุนัข กระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ สุนัข สุนัขเป็นนิ่ว ผ่าตัด อาหารรักษานิ่ว
- แมวเดินเซ pantip แมวมีอาการสั่น ไม่มีแรง แมวคอเอียง เดินเซ แมว ตัวโยก แมวทรงตัวไม่ได้ ลูกแมวเดินแปลกๆ แมว ขาหลัง ไม่มี แรง ทำ ไง ดี แมว กล้าม เนื้อ ขาอ่อน แรง
- สุนัข หายใจติดขัด สุนัขหายใจแรง ตัวสั่น สุนัขหายใจแรง ไม่กินอาหาร ชิวาว่าหายใจติดขัด สุนัขหลอดลมตีบ อาการ สุนัขหายใจแรง
- โรคไตในสุนัขระยะสุดท้าย สุนัขไตวายเฉียบพลัน โรคไตในสุนัข pdf โรคไตสุนัขเกิดจาก อาหารโรคไต สุนัข ป้องกันโรคไต สุนัข อาหารสุนัขโรคไต ทําเอง สุนัขโรคไต ไม่กินอาหาร
- โรคหัดสุนัข หัด สุนัข หัด สุนัข รักษา หาย ไหม หัด สุนัข อาการ โรค หัด สุนัข รักษา หาย โรค หัด สุนัข อาการ โรค หัด สุนัข โรค หัด สุนัข เดิน ไม่ ได้
- ภาษาแมว
- สุนัขกล้ามเนื้ออักเสบ
- Wellness
- Vote
- ของแท้ ของปลอม
- Uncategorized
Read More
คนคิดตื้น VS คนคิดลึก ชวนแฟนไปเที่ยวญี่ปุ่น
คนคิดตื้น VS คนคิดลึก
เฉลยการตั้งชื่อน้องหมา ให้เฮงๆ ตั้งชื่อสุนัขไทยๆ ตั้งชื่อสุนัข ให้ ถูกโฉลก ตั้งชื่อสุนัข ผล ไม่ ตั้งชื่อสุนัขเงินทอง ตั้งชื่อสุนัข สอง พยางค์ สุนัข ชื่อดัง ชื่อสุนัขเกาหลี ชื่อสุนัขพันธุ์เล็ก
เจ้าตูบเป็นสัตว์เลี้ยงแสนรักของใครหลายคน เมื่อเป็นเจ้าของแล้วก็อดที่จะเลือกตั้งชื่อเพราะๆ...
รูปน้องหมา ตลกๆ สร้างรอยยิ้ม
สำหรับใครที่ชื่นชอบสุนัข มาลองดูภาพน่ารักๆ ของสุนัขที่ทำหน้าตาสื่ออารมณ์ได้ยอดเยี่ยมสุดๆ...
จำ อายุ สุนัขไม่ได้ สุนัข อ้อน การ แสดงออก ของสุนัข สุนัขเปลี่ยนเจ้าของ สุนัข กระสับกระส่าย สุนัข กลับบ้านถูก ได้อย่างไร ธรรมชาติของสุนัข สุนัขรอเจ้าของ
สุนัขไม่น่าจะจำเจ้าของได้ เพราะรูปแบบการจดจำของสุนัข จะมาจากการถูกกระตุ้น แล้วจึงค่อยทำ...
น้องหมายอมให้กอด ให้หอม เพราะรัก
ทำไมสุนขชอบเลียคุณ ที่จริงแล้ว น้องหมามีการเลียกันในฝูง มาเป็น หมื่นปีแล้ว...
- ยารักษาสุนัขขาอ่อนแรง
- ที่นอนสุนัขอัมพาต
- สุนัขเป็นแผลกดทับ
- แมวเป็นอัมพาต_nbsp_รักษา
- ยา_กระตุ้น_ปลายประสาท_nbsp_สุนัข
- แมวเป็นอัมพาต_อาการ
- แมวขาหลังอ่อนแรง_เกิดจากอะไร
- กายภาพบําบัดสุนัขเดินไม่ได้
- CalFlex_กลูโคซามีน
- ยาบํารุงข้อสุนัข
- ยาบํารุงข้อสุนัข_antinol
- การรักษา_โรคข้อสะโพกเสื่อม_สุนัข
- อาหารเสริมสุนัข_อาหารเสริม
- โกลเด้น_ขาหลังไม่มีแรง
- โกลเด้น_เจ็บขา
- ลาบราดอร์_ขาหลังไม่มีแรง
- โกลเด้นเดินไม่ได้
- สุนัข_ขาหลังไม่มีแรง
- โรคของสุนัขโกลเด้น
- สุนัขขาหลังไม่มีแรง
- รักษา_อาการ_ขา_สุนัข_ไม่มี_แรง
- วิตามินสุนัขไม่มีแรง
- สุนัขขาอ่อนแรง
- ยารักษาสุนัขขาอ่อนแรง
- ลูกสุนัขขาอ่อนแรง
- ลูกสุนัขขาหลังอ่อนแรง
- สุนัขมีอาการเกร็งขาหลัง
- กลูโคซามีน
- ยาบํารุงข้อสุนัข
- ยาบํารุงข้อสุนัข_antinol
- การรักษา_โรคข้อสะโพกเสื่อม_สุนัข
- อาหารเสริมสุนัข
- วิตามินสุนัขขาหลังอ่อนแรง
- ยาแก้อักเสบกล้ามเนื้อสุนัข
- ยาแก้ปวดสุนัข
- ยาบํารุงข้อสุนัข_ยี่ห้อไหนดี
- สุนัขขาหัก_อาการ
- การรักษา_สุนัขเอ็นอักเสบ
- โรคข้อสะโพกเสื่อม_สุนัข
- ยาแก้อักเสบสุนัข
- สุนัขเจ็บขาหลัง
- ยาบำรุงข้อ_สุนัข_root_ราคา
- สุนัขกล้ามเนื้ออักเสบ
- สุนัขข้ออักเสบ
- สุนัข_ขาอ่อนแรง
- ลูกสุนัขขาหลังอ่อนแรง
- สุนัข_ขา_หลัง_ไม่มี_แรง_เดิน_ไม่_ได้
- สุนัขไม่มีแรง_ไม่กินอาหาร
- สุนัขไม่มีแรง_เดินเซ
- สุนัขมีอาการเกร็งขาหลัง
- โกลเด้น_ขาหลังไม่มีแรง
- กายภาพสุนัขเดินไม่ได้
- สุนัข_ขา_หลัง_ไ
© 2023 Dictip · ไทย