Hip dysplasia ในสุนัข สุนัข ข้อสะโพกเสื่อม pantip ค่ารักษาสุนัขสะโพกหลุด ผ่าตัดสะโพกสุนัขราคา สุนัข สะโพกเสื่อม อาการ วิธี รักษา สุนัข ข้อสะโพกเสื่อม ยา รักษา ข้อสะโพกเสื่อม สุนัข Hip dysplasia dog โรคข้อสะโพกเสื่อมในสุนัข

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโรค hip dysplasia และแนวทางการรักษา
        โรคข้อสะโพกเจริญผิดปกติในสุนัข (canine hip dysplasia) เป็นโรคที่ทำให้สองขาหลังของสุนัขเดินอ่อนแรงหรือกะเผลก โดยมักเกิดในหมาพันธุ์ใหญ่ มีน้ำหนักมาก ทำให้ข้อสะโพกของสุนัขรับน้ำหนักมากกว่าปกติทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อต่อเสื่อม (osteoarthritis) ตามมาโดยเฉพาะสุนัขที่เป็นโรคข้อสะโพกเจริญผิดปกติอยู่แล้ว

อาการบ่งชี้ เช่น 1.สุนัขจะแสดงอาการเจ็บและเดินกะเผลกขาหลังข้างที่มีปัญหาข้อสะโพก
2.มีลักษณะการเดินผิดปกติหรือเดินหนีบสองขาหลัง
3.การเดินจะลงน้ำหนักที่ 2 ขาหน้ามากกว่าขาหลัง(เดินโก่งโค้ง ลงน้ำหนักที่ขาหลังมากกว่าขาหน้า) ทำให้กล้ามเนื้อขาหน้าแข็งแรงกว่าขาหลัง
4.ชอบนั่งหรือนอนมากกว่าการเดิน
5.ไม่อยากขึ้นหรือลงจากที่สูง
6.ลักษณะการวิ่งจะกระโดดสองขาหลังพร้อมกันเหมือนกระต่ายกระโดดซึ่งเรียกว่า bunny hopping gait

การตรวจ
1.ข้อสำคัญที่สุดคือ ควรตรวจให้เร็วที่สุดเมื่อพบอาการบ่งชี้ และตรวจกับสัตวแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านกระดูก!!!!!
2.การตรวจก็จะมีทั้งคลำตรวจ ดูการเดินการวิ่ง รวมถึงการ x-ray

การรักษา
1.รักษาแบบไม่ผ่าตัด เป็นการบรรเทาอาการปวด บำรุงข้อต่อและทำให้กล้ามเนื้อสะโพกแข็งแรงมากกว่าการรักษาความผิดปกติของกระดูกข้อสะโพก จะช่วยชะลอการเสื่อมของข้อสะโพก ส่วนใหญ่จะใช้ยาบรรเทาเช่น antinol ลดปวดข้อ calflex ช่วยเรื่องข้อ ขาอ่อนแรง โดยทำควบคู่ไปกับการควบคุมน้ำหนักสุนัข โภชนาการที่ดี รวมทั้งปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้เหมาะสม(พื้นต้องไม่ลื่น เป็นต้น)


2.การรักษาแบบผ่าตัด จะช่วยลดความเจ็บปวดและสามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างกระดูกข้อสะโพกของสุนัขให้เหมาะสมได้ การผ่าตัดนี้มีหลายแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ความรุนแรงของโรค รวมถึงค่ารักษาด้วย

    Pectineus tendon or muscle surgery การทำศัลยกรรมตัดกล้ามเนื้อ pectineus (pectineus myotomy) หรือการตัดกล้ามเนื้อ pectineusออกบางส่วน (pectineus myectomy) เป็นการทำศัลยกรรมที่มีมานานใช้ในการรักษาโรคข้อสะโพกเจริญผิดปกติในระยะแรก      




    ข้อดี: ช่วยลดความเจ็บที่สะโพกได้, ราคาถูก, ใช้เวลาน้อย
    ข้อเสีย: เกิดพังผืดที่เนื้อหรือเส้นเอ็น ทำให้กล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นนั้นกลับมาเชื่อมต่อกันใหม่ได้ สุดท้ายโรคอาจพัฒนาไปเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อมอีกครั้งได้

    Femoral head and neck resection เป็นการตัดเอาส่วนหัวและคอของกระดูกขาหลังส่วนต้นออกเพื่อลดผิวสัมผัสที่ขรุขระของหัวกระดูกขาหลังส่วนต้นกับเบ้ากระดูกเชิงกราน(ยิ่งขรุขระจะยิ่งเจ็บ เพราะกระดูกมันเสียดสีกับกระดูก) เพื่อให้เกิดเป็นข้อเทียมที่มีเนื้อเยื่อพังผืดมาแทน





    ข้อดี: สามารถรักษาสุนัขที่มีปัญหาโรคข้อสะโพกเสื่อมในระยะเริ่มต้นหรือระยะเรื้อรังในรายที่ไม่สามารถผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกได้        
    ข้อเสีย: ของวิธีนี้คือสุนัขจะต้องมีน้ำหนักน้อยเนื่องจากจะมีปัญหาในการรับน้ำหนักของขาหลังหลังจากทำไปแล้ว

    Intertrochanteric osteotomy(ITO) เป็นวิธีการปรับเปลี่ยนมุมกระดูกในยุคแรกๆก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็น triple pelvic osteotomy (TPO)

    Triple Pelvic Osteotomy (TPO)   ผ่าตัดโดยการตัดกระดูกเชิงกราน 3 แห่ง แล้วใช้อุปกรณ์(plate and screw)ปรับมุมของเบ้ากระดูกเชิงกรานในคลุมหัวกระดูกขาหลังส่วนต้นให้เหมาะสม โดย plate กับ screw ที่ใช้ต้องจำเพาะกับหมาแต่ละตัวเท่านั้น เพราะใช้ในการปรับมุมของเชิงกรานได้







     ข้อดี: ทำได้ในสุนัขตั้งแต่อายุ 4–18 เดือนทำให้ข้อสะโพกมั่นคงมากขึ้น สุนัขใช้ขาได้โดยไม่เจ็บขา ลดการเกิดการเสื่อมของข้อสะโพกในอนาคต  มีเปอร์เซ็นความสำเร็จสูงถึง 90%        
     ข้อเสีย: ไม่สามารถรักษาตัวที่กระดูกข้อสะโพกเสื่อมไปมากแล้วหรือหัวกระดูกขาหลังส่วนต้นอยู่ในเบ้าน้อยกว่า 30% ค่าใช้จ่ายในการผ่าสูง ใช้เวลานาน และต้องกายภาพอีกนาน ต้องมีการดูแลหลังผ่าอย่างใกล้ชิด และหมาจะเจ็บมาก หลังผ่าในบางตัวอาจจะไม่ยอมเดินเป็นเดือนๆ

    Total Hip Replacement (THR) เป็นการเปลี่ยนหัวกระดูกต้นขาและเบ้าเชิงกรานใหม่ทั้งหมด






    ข้อดี: รักษาโรคข้อสะโพกเสื่อมได้ดีที่สุด                                    
    ข้อเสีย: ราคาสูงที่สุด และผ่าตัดในสุนัขที่เจริญเติบโตเต็มที่และมีน้ำหนักมากกว่า 20ปอนด์(ประมาณ 9กิโลกรัม)

    Juvenile Pubic Symphysiodesis(JPS) เป็นวิธีการใหม่ล่าสุดที่ใช้ในการรักษาโรคข้อสะโพกเจริญผิดปกติ โดยใช้ความร้อนทำลายกระดูกเชิงกรานส่วน pelvic เพื่อให้กระดูกทั้งสองข้างเชื่อมเข้าด้วยกัน(ทำให้กระดูกส่วนนี้หยุดเจริญเติบโต) ซึ่งทำให้มุมของข้อสะโพกเปลี่ยนไปเมื่อสุนัขโตขึ้น วิธีการนี้เหมาะสำหรับสุนัขที่มีอายุระหว่าง 15 – 28 สัปดาห์(อายุไม่เกิน 5เดือน)  เนื่องจากถ้าอายุมากไปกว่านี้ กระดูกเชิงกรานในสุนัขบางตัวอาจจะหยุดการเจริญเติบโตแล้วทำให้วิธีนี้ไม่ได้ผล





     ข้อดี: เปอร์เซ็นความสำเร็จสูงถึง 95% เมื่อผ่าตัดเมื่อสุนัขอายุ 4 เดือน สามารถลดความเจ็บปวด รวมทั้งลดโอกาสการเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อมในอนาคตได้  แผลผ่าตัดเล็กนิดเดียว หมาจะไม่เจ็บมาก สามารถเดินได้เลย ไม่ต้องดูแลหลังผ่าตัดมาก  
    ข้อเสีย: สุนัขที่รักษาด้วยวิธีนี้ควรมีอายุไม่เกิน 5 เดือน หรือถ้าเกิน 5 เดือนไปแล้วโอกาสความสำเร็จจะลดลง(วิธีนี้ขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโตของกระดูกดังนั้นอายุจึงสำคัญมาก) ใช้เวลารักษานาน จะเห็นผลหลังจากผ่าแล้ว 4 เดือนขึ้นไป

การดูแลหลังผ่าตัด
1.ดูแลแผลผ่าตัดให้ดี อย่าให้โดนน้ำ หรืออับชื้น
2.ปรับเปลี่ยนแหล่งที่อยู่อาศัยให้เหมาะสม ห้ามอยู่บนพื้นลื่นๆ
3.กินยาตามหมอสั่งให้สม่ำเสมอ
4.หลังผ่าควรกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง เช่น การพาเดินเล่น การว่ายน้ำ หรือการเดินในน้ำเป็นต้น




ยาที่ใช้ในการรักษา และบำรุงข้อสะโพก

1.ยาในกลุ่ม Non-steroid antiinflammatory drugs (NSAIDs)
ยาในกลุ่มนี้มีฤทธิ์ในการลดความเจ็บปวดและลดการอักเสบเนื่องมาจากข้อสะโพกเสื่อม ปัจจุบันได้มีการพัฒนายาในกลุ่มนี้เพื่อใช้สำหรับสุนัขเท่านั้น ได้แก่ Carprofen(Rimadyl®), Etodolac (Etogesic®), Deracoxib (Deramaxx®), Ketoprofen, Meloxicam ไม่ควรให้สุนัขกินยาชนิดเหล่านี้เอง ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะยาเหล่านี้มีผลกับตับไตค่อนข้างมากไม่ควรกินเป้นเวลานานๆ

2.ยาบำรุงข้อต่อต่างๆ

    Glucosamine และ Chondroitin Glucosamine เป็นน้ำตาลตัวหนึ่งที่เป็นผลผลิตมาจาก glycosaminoglycans และ hyaluronate ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในขบวนการสร้างและสังเคราะห์กระดูกอ่อนผิวหน้าของข้อต่อ ส่วน chondroitin ได้จากขบวนการการสังเคราะห์ของ glycosaminoglycans มีผลไปยับยั้งเอ็นไซม์ที่ไปทำลายกระดูกอ่อนผิวหน้าของข้อต่อดังนั้นเมื่อร่างกายของสุนัขเป็นโรคข้อสะโพกเจริญผิดปกติหรือข้อกระดูกอักเสบ ทำให้ผิวหน้าของข้อต่อสวมกันไม่พอดีและเสียดสีกันเกิดการเสียหายและหลุดลอกออกไปโดย glucosamine และchondroitin จะไปกระตุ้นการสร้างเซลล์กระดูกอ่อน(chondrocytes) เพื่อให้มีการสังเคราะห์และสร้างกระดูกใหม่ขึ้นมาทดแทนกระดูกที่เสียหายซึ่งขบวนการนี้ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์ ดังนั้นควรป้อนยาให้สุนัขรับประทานติดต่อกันอย่างน้อย 6 สัปดาห์ถึงจะเห็นผลทั้งนี้ยาทั้ง 2 ตัวปลอดภัยและมีผลข้างเคียงน้อยแต่ไม่มีผลในการลดความเจ็บปวด

    Perna Mussels เป็นยาที่ทำมาจากหอยแมลงภู่สีเขียวชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Perna canaliculus โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตจนได้เป็นยาในรูปผงออกมา ซึ่งหอยชนิดนี้สามารถพบได้ตามชายฝั่งประเทศนิวซีแลนด์ ดังนั้นถือได้ว่าเป็นยาที่หาได้จากแหล่งตามธรรมชาติที่อุดมไปด้วยโปรตีน glucosamines glycosaminoglycans(GAGs) และ omega-3 fatty acids เป็นอย่างมากซึ่ง GAGs จะช่วยสร้างน้ำหล่อลื่นในข้อต่อเพื่อลดแรงกระแทก ในประเทศไทยส่วนใหญ่ใช้ยี่ห้อ antinol ราคาสูง

    Shark Cartilage กระดูกปลาฉลามป่นสามารถนำมาผลิตยาในการรักษาโรคข้อสะโพกได้เช่นกันโดยมีส่วนประกอบใกล้เคียงกันกับ Perna mussels มีรายงานว่าการรับประทานกระดูกปลาฉลามป่นสามารถทำให้สุขภาพโดยรวมของข้อต่อดีขึ้น ช่วยลดความเจ็บปวด ลดการแข็งและการบวมของข้อต่อได้

    Methylsulfonylmethane (MSM) MSM มีประโยชน์ในเรื่องของการช่วยลดรอยแผลเป็น เพิ่มการสร้าง collagen ช่วยสร้างเซลล์ใหม่ซ่อมแซมเซลล์เก่า เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยลดการอักเสบและลดความเจ็บปวดในรายที่ปัญหาเรื่องข้ออักเสบ เนื่องจาก MSM มีผลทำให้การทำงานของ insulin ดีขึ้นและช่วยขบวนการเผาผลาญของคาร์โบไฮเดรตมากขึ้น

    Creatine สามารถพบได้ในเนื้อแดงและปลาซึ่ง Creatine เป็นอนุพันธ์ของกรดอะมิโน ถูกสังเคราะห์ภายในตับ ไต และตับอ่อน จากกรดอะมิโนarginine glycine และ methionine โดยที่ Creatine ไม่ได้เป็นตัวสร้างกล้ามเนื้อโดยตรงแต่จะมีผลช่วยเพิ่มการสร้างพลังงาน adenosine triphosphate (ATP)ให้กับกล้ามเนื้อของร่างกายทำงานได้มากขึ้นและนานขึ้น

    Vitamin C มีผลช่วยในการสังเคราะห์ Collagen ซึ่งเป็นส่วนประกอบของผนังกระดูก เส้นเลือดและกล้ามเนื้อ ดังนั้นสุนัขที่มีปัญหาเรื่องกระดูกข้อต่ออักเสบ วิตามินซีจะช่วยในเรื่องของการสร้างผิวหน้าของกระดูกข้อต่อให้แข็งแรงขึ้นรวมทั้งทำให้เอ็นข้อต่อมีความยืดหยุ่นมากขึ้นด้วย

    Polysulfated Glycosaminoglycan(Adequan) เป็นยาที่ใช้ในรูปแบบฉีดเข้าไปในข้อต่อติดกันทุกวันเป็นระยะเวลาสั้นๆ เพื่อช่วยในเรื่องของการสังเคราะห์กระดูกใหม่และป้องกันการแตกกร่อนของผิวหน้าของกระดูกข้อต่อ

สนับสนุน

สั่งซื้อ CalFlex ตอนนี้ลดราคาจาก 1280 บาท เหลือ 1150 บาทเท่านั้น เลขจดแจ้ง 0108640006


เสริมวิตามิน ซี,วิตามิน บี1, บี2,บี6 โฟเลต,กลูโคซามีน

ส่วนประกอบ

กลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์

วิตามินซี

วิตามินบี 1

วิตามินบี 6

วิตามิน บี 2

โฟลิกแอซิด

นมผง

วิธีใช้ น้ำหนักตัว น้อยกว่า 20 กิโลกรัม ให้กินวันละ 1 เม็ด

น้ำหนักตัวมากกว่า 40 กิโลกรัม ให้กินวันละ 2 เม็ด

แคตตาล็อก
Read More
ทำหมันให้หมา ดีมั้ย ทำหมันหมาอายุ ทำหมันหมาฟรี ทำหมันหมาปอม ขั้นตอนการทำหมันสุนัข หมาตัวผู้ทำหมันแล้ว หมา ตัวเมีย ทำหมัน อายุเท่าไร ยาทำหมันหมา วิธีดูแลสุนัขตัวผู้หลังทำหมัน
การพาสุนัขไปทำหมันนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ต่างจากการที่เราพาสุนัขไปฉีดวัคซีนหรือการป้องกันเห็บให้เลย...
By dictip 2020-09-25 02:53:38 0 2378
สุนัขขี้อ้อน สุนัขพันธุ์ใหญ่ที่นิยมเลี้ยง สุนัขพันธุ์ใหญ่ในไทย สุนัขยอดนิยม 2019 สาย พันธุ์สุนัขที่ฉลาดที่สุดในโลก สุนัขที่นิยมเลี้ยง สุนัข พันธุ์ไทย เฝ้าบ้าน สุนัขยอดนิยม 2020 สุนัขพันธุ์ไทยผสม สุนัขพันธุ์ใหญ่ ราคา
    นี่คือ 10 สายพันธุ์...
By dictip 2020-07-24 02:11:36 0 1041
ขาหลังสุนัขไม่มีแรง สุนัขไม่มีแรงเกิดจากอะไร โรคข้อสะโพกเสื่อม สุนัข เกิดจากอะไร
ขาหลังสุนัขไม่มีแรง หากเขามีอาการลุกและนั่งได้ลำบาก ขากะเผลกเวลาเดิน ไม่ชอบเดิน นอนทั้งวัน...
By dictip 2023-02-27 23:06:58 0 1497
สุนัข พันธุ์ทาง สุนัขพันธุ์ไทยผสม สุนัขพันธุ์ทาง ราคา สุนัขพันธุ์ทาง ภาษาอังกฤษ สุนัขพันธุ์ผสม สุนัขพันทาง ชื่อพระราชทาน พันทาง พันธุ์ทาง สุนัขพันธุ์ ทางนิสัย สุนัขพันทาง pantip
 เมื่อหมามาอยู่ด้วยกัน หากมันเข้ากันได้ มันก็จะเล่นด้วยกันอย่างมีความสุข...
By dictip 2020-07-17 05:42:33 0 4235
ทำไม ถึงรักสุนัข สุนัข รักเจ้าของ ที่สุด จ่าฝูง - Pantip การบอกรักสุนัข สุนัข Pantip สุนัขติดเจ้าของ สุนัข ต้องการความรัก สุนัข รักลูก
      โดยปกติแล้วเวลาน้องหมาจะสื่อสารกับเรา...
By dictip 2021-05-07 06:11:30 0 989