
-
-
Messages
-
Settings
- FAVORITES
-
News Feed
-
My Articles
-
My Products
-
Saved Posts
- ADVERTISING
-
Ads Manager
-
Boosted Posts
-
Boosted Pages
- EXPLORE
-
People
-
Pages
-
Groups
-
Events
-
Blogs
-
Market
สุนัขอ้วน ทํา อย่างไร สุนัขอ้วน ผิดปกติ สุนัขอ้วน โรค ยาลดความอ้วนสุนัข อาหารลดน้ำหนักสุนัขทำเอง ลดน้ำหนัก ชิ ว่า ว่า ชิวาว่าอ้วน แมวอ้วน
สุนัขไม่มีแรง เดินเซ อาการ ขา สุนัข ไม่มี แรง โกลเด้น ขาหลังไม่มีแรง โกลเด้น เจ็บขา ลาบราดอร์ ขาหลังไม่มีแรง
โรคอ้วนในสุนัขสามารถพบได้บ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากเจ้าของบางท่านมักมองว่าสุนัขอ้วนน่ารัก หรือรู้สึกใจอ่อนทุกครั้งเมื่อสุนัขของตนเองขออาหารกินจึงไม่สามารถควบคุมอาหารได้ บางท่านมีการให้อาหารของคนซึ่งมีปริมาณไขมันสูง เช่น อาหารทอด ขนมขบเคี้ยว หรือผลไม้ เช่น ทุเรียน เป็นต้น โรคอ้วนเป็นความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการที่ไม่เหมาะสม มีการสะสมไขมันในร่างกายที่มากเกินไป อีกทั้งโรคอ้วนยังส่งผลทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมามากมาย วันนี้เรามี 5 สัญญาณเตือนที่ให้เจ้าของสังเกตว่าสุนัขของท่านอ้วนเกินไปหรือไม่ค่ะ
1. คุณสัมผัสซี่โครงของสุนัขของคุณไม่พบใช่หรือไม่ ?
การสังเกตจากกระดูกซี่โครงเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดที่จะดูว่าสุนัขของคุณอ้วนเกินไปหรือไม่ โดยการสัมผัสที่บริเวณด้านข้างของช่องอก หากมีไขมันหนามากในสุนัขอ้วน คุณจะสัมผัสไม่พบกระดูกซี่โครงนั่นเอง
ตำแหน่งกระดูกซี่โครงด้านข้างลำตัว
สุนัขอ้วนจะสัมผัสกระดูกซี่โครงไม่ได้
2. สุนัขของคุณมักมีปัญหาหายใจลำบากหรือไม่ ?
หากสุนัขของคุณมักมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบ เหนื่อยง่าย ไม่ทนต่อการออกกำลังกาย แสดงว่าสุนัขของคุณอาจมีปัญหาอ้วนเกินไปได้ ซึ่งในระยะยาว นอกจากปัญหาเรื่องระบบทางเดินหายใจ สุนัขอ้วนเหล่านี้อาจมีปัญหาเรื่องระบบไหลเวียนโลหิตและหัวใจ ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง และอาจเกิดหัวใจวายได้
3. สุนัขของคุณมีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อย หรือท้องผูกบ่อยหรือไม่ ?
สุนัขที่เป็นโรคอ้วนจะมีปัญหาเรื่องระบบการย่อยและการขับถ่าย มักจะพบปัญหาท้องผูก เนื่องจากกินอาหารที่มีปริมาณแคลอรี่เกิน และมีการเผาผลาญพลังงานน้อย ในการศึกษาพบว่าสุนัขที่กินอาหารประเภทไขมันมากเกินไปอาจเนี่ยวนำให้เกิดโรคตับอ่อนอักเสบตามมาได้
4. สุนัขของคุณมีปัญหาในกาiเคลื่อนไหวร่างกายหรือไม่ ?
น้ำหนักที่มากเกินไปจะส่งผลต่อระบบกล้ามเนื้อและข้อต่อของกระดูกได้ เช่น โรคข้ออักเสบ และโรคข้อสะโพกหลุด เป็นต้น โรคดังกล่าวทำให้สุนัขเกิดความเจ็บปวด และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของสุนัขได้ในระยะยาว
5. รูปทรงของสุนัขของคุณเหมือนกล่องสี่เหลี่ยมใช่หรือไม่ ?
จากภาพที่มองด้านข้างลำตัวสุนัข พบว่าบริเวณหัวไหล่กลมมน มีไขมันปกคลุม มองไม่เห็นกระดูกสันหลัง และคลำไม่พบกระดูกสันหลัง มีไขมันหนาบริเวณกระดูกเชิงกรานและมองไม่เห็นกระดูก มองไม่เห็นกระดูกซี่โครงและไม่สามารถคลำพบได้ บริเวณท้องย้อย มีไขมันสะสมมาก จากสาเหตุดังกล่าวพบว่าเมื่อมองจากทางด้านข้างลำตัวสุนัขจะคล้ายกับบล็อกของกล่องสี่เหลี่ยมนั่นเอง
การลดน้ำหนักที่เหมาะสม
การลดน้ำหนักในสุนัขต้องอาศัยความร่วมมือจากเจ้าของสุนัขทุกคนในบ้าน เนื่องจากต้องอาศัยหลายวิธีร่วมกัน ปัญหาหลักคือ เจ้าของมักจะใจอ่อนเนื่องจากสุนัขขออาหารกินเพิ่ม ทำให้ความตั้งใจในการลดน้ำหนักนั้นล้มเหลว ปัจจุบันมีอาหารสำเร็จรูปที่เป็นสูตรสำหรับควบคุมน้ำหนักของสุนัข ซึ่งจะจำกัดปริมาณของแคลอรี่ แต่ยังมีสารอาหารที่เพียงพอต่อร่างกาย ทำให้เจ้าของสะดวกในการจัดการเรื่องอาหาร แนะนำให้อาหารสุนัขเป็นมื้อที่แน่นอน งดขนมที่มีพลังงานสูงในระหว่างวัน การลดปริมาณอาหารต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ควรลดปริมาณอาหารลงทันที เพื่อให้สุนัขได้ค่อยๆปรับตัว สุนัขจะไม่สามารถลดน้ำหนักลงได้อย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาแค่ไม่กี่สัปดาห์เหมือนคน แต่จะค่อยๆลดลง บางตัวอาจใช้เวลาหลายเดือนหรือเป็นปีในการลดน้ำหนัก นอกจากการควบคุมอาหารแล้ว ยังต้องการการออกกำลังกายที่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ การออกกำลังกายจะช่วยในการกำจัดพลังงานส่วนเกินออกไปจากร่างกาย และรักษามวลของกล้ามเนื้อไว้ การเลือกวิธีการออกกำลังกายขึ้นกับความชอบของสุนัขแต่ละตัว อาจเริ่มจากการพาสุนัขเดินเป็นเวลา 15-20 นาที 2 ครั้งต่อวัน หรือบางตัวอาจเลือกว่ายน้ำที่สระว่ายน้ำสำหรับสุนัขก็ได้ แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ นอกจากสุนัขจะลดน้ำหนักได้ตรงตามเป้าหมายแล้ว ยังได้มีกิจกรรมที่เสริมสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างคุณกับสุนัข อีกทั้งคุณยังมีโอกาสได้ออกกำลังกายร่วมกับสุนัข ทำให้คุณมีรูปร่างที่ดี และมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้อีกด้วยค่ะ เจ้าของสัตว์เลี้ยงสามารถนำสุนัขของคุณไปตรวจสุขภาพเพื่อประเมินว่าสุนัขของคุณมีรูปร่างสมส่วน หรือเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนหรือไม่ โดยการวัดจากการให้คะแนนภาวะรูปร่าง หรือ Body condition score ได้ที่โรงพยาบาลสัตว์รัตนาธิเบศร์ทุกสาขา หรือโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02-1968244-6
ผู้เรียบเรียง สพ.ญ. นัยนา สุขสันติลาภ (หมอพลอย)
โรงพยาบาลสัตว์รัตนาธิเบศร์
เหมาะสำหรับสุนัขที่ เดินผิดปกติ ข้อขาหลัง สะโพกผิดปกติเนื่องจากกรรมพันธ์ โรค ข้อสะโพกหลุดเลื่อนใน สุนัขพันธ์ุใหญ่ โรคข้อศอกหลุดเลื่อนในสุนัขพันธ์ุเล็ก เข่าเสื่อมในสุนัขแก่ลุกไม่ได้ หรือ ได้รับการผ่าตัดตามข้อตามเข่า ต้องการเพิ่มน้ำไขข้อ และบำรุงระบบประสาทโดยรวม สั่งซื้อ CalFlex ตอนนี้ลดราคาจาก 1280 บาท เหลือ 1150 บาทเท่านั้น เลขจดแจ้ง 0108640006
- Japan
- chat
- vs
- dog
- Golden Retriever โกลเด้น
- Labrador Retriever ลาบราดอร์
- Siberian Husky ไซบีเรียน ฮัสกี้
- Pug ปั๊ก
- Beagle บีเกิ้ล
- Pomeranian ปอมเมอเรเนียน
- Chihuahua ชิวาวา
- Shihtzu ชิห์สุ
- บางแก้ว
- หมาไทย
- สุนัขไม่มีแรง เดินเซ อาการ ขา สุนัข ไม่มี แรง โกลเด้น ขาหลังไม่มีแรง โกลเด้น เจ็บขา ลาบราดอร์ ขาหลังไม่มีแรง
- สุนัข กระเพาะปัสสาวะอักเสบ รักษา สุนัข กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ค่ารักษา สมุนไพรรักษานิ่วในสุนัข อาการกระเพาะปัสสาวะแตกในสุนัข อาหาร สุนัข กระเพาะปัสสาวะอักเสบ สุนัข กระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ สุนัข สุนัขเป็นนิ่ว ผ่าตัด อาหารรักษานิ่ว
- แมวเดินเซ pantip แมวมีอาการสั่น ไม่มีแรง แมวคอเอียง เดินเซ แมว ตัวโยก แมวทรงตัวไม่ได้ ลูกแมวเดินแปลกๆ แมว ขาหลัง ไม่มี แรง ทำ ไง ดี แมว กล้าม เนื้อ ขาอ่อน แรง
- สุนัข หายใจติดขัด สุนัขหายใจแรง ตัวสั่น สุนัขหายใจแรง ไม่กินอาหาร ชิวาว่าหายใจติดขัด สุนัขหลอดลมตีบ อาการ สุนัขหายใจแรง
- โรคไตในสุนัขระยะสุดท้าย สุนัขไตวายเฉียบพลัน โรคไตในสุนัข pdf โรคไตสุนัขเกิดจาก อาหารโรคไต สุนัข ป้องกันโรคไต สุนัข อาหารสุนัขโรคไต ทําเอง สุนัขโรคไต ไม่กินอาหาร
- โรคหัดสุนัข หัด สุนัข หัด สุนัข รักษา หาย ไหม หัด สุนัข อาการ โรค หัด สุนัข รักษา หาย โรค หัด สุนัข อาการ โรค หัด สุนัข โรค หัด สุนัข เดิน ไม่ ได้
- Theater
- Wellness
- Vote
- Uncategorized