วิธีเลี้ยงลูกสุนัข ปัญหาการเลี้ยงสุนัข เลี้ยงหมา ยัง ไง ไม่ให้ดุ ปัจจัย ในการเลี้ยงสุนัข การนำหมาใหม่ เข้าบ้าน ควรเลี้ยงสุนัขกี่ตัว การเลี้ยงสุนัขในบ้าน การฝึกลูกสุนัข

Dogilike.com :: หมาเด็ก(มา)ใหม่ ต้องรับมือยังไงถึงจะเอาอยู่
 

 

สิ่งที่จะต้องเจอเมื่อหมาเด็กมาอยู่บ้านใหม่


     ลองนึกภาพเด็กทารกเล็ก ๆ ดูนะคะ สเตปชีวิตของพวกเขามีอยู่ไม่กี่อย่างหรอกค่ะ 'กินนม > ขับถ่าย > นอน' น้องหมาเด็กก็เหมือนกับเด็กทารก พวกเขายังไม่สามารถดูแลช่วยเหลือตัวเองได้และต้องการการดูแลที่ใกล้ชิดตลอดเวลา ดังนั้นถ้าหากผู้เลี้ยงรับพวกเขามา ต้องมั่นใจว่ามีความพร้อมและมีเวลาที่จะรับผิดชอบดูแลเขาตลอด เพราะเมื่อเขาหิวเรามีหน้าที่ต้องป้อนนมให้อาหารแทนหน้าที่แม่หมาไม่ว่าจะดึกดื่นหรือเช้าแค่ไหนก็ตาม เมื่อเขาจะขับถ่ายเราจะต้องกระตุ้นการขับถ่ายให้และทำความสะอาดหลังการขับถ่าย ต้องสังเกตสุขภาพและพัฒนาการต่าง ๆ ของลูกหมาอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ ผู้เลี้ยงยังต้องทำความเข้าใจกับพฤติกรรมในแต่ละช่วงวัยของลูกหมาอีกด้วย เพราะในช่วงหลังหย่านมไปจนถึง 6 เดือน พวกเขาจะมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก ซึ่งหลายครั้งพบว่าถ้าผู้เลี้ยงไม่มีความเข้าใจทั้งในเรื่องการดูแลและพัฒนาการต่าง ๆ รวมไปถึงพฤติกรรมของลูกหมาก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาระหว่างการเลี้ยงมากมายเลยทีเดียวล่ะค่ะ

 

เข้าใจธรรมชาติน้องหมาเด็กให้ดีขึ้น


     อย่างที่บอกไปแล้วว่าลูกหมาในช่วงอายุหลังหย่านมไปจนถึง 6 เดือน จะมีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ผู้เลี้ยงอย่างเราต้องทำความเข้าใจกับธรรมชาติของพวกเขาตามช่วงวัยดังนี้ค่ะ


Dogilike.com :: หมาเด็ก(มา)ใหม่ ต้องรับมือยังไงถึงจะเอาอยู่


     ช่วงอายุ 6-7 สัปดาห์ : ลูกหมาจะเริ่มมีฟันขึ้นแล้ว ซึ่งนี่ก็เป็นสัญญาณที่บ่งบอกได้ว่าลูกหมากำลังจะเข้าสู่ช่วงหย่านม เพราะโดยเมื่อลูกหมากินนมในช่วงแรกแม่หมาจะเริ่มขยับตัวหนี และเมื่อลูกหมาไล่มากขึ้น แม่หมาก็จะเพิ่มความรุนแรงในการเตือนลูก เช่น เตือนโดยการขู่ คำรามในลำคอ หรือบางครั้งอาจจะงับลูกหมาเบาๆ เพื่อนเป็นการขู่ ช่วงนี้ลูกหมาจะเริ่มเรียนรู้การสื่อสารโดยการขู่จากแม่หมา ถ้าหากเราแยกลูกหมาออกจากแม่หมาในช่วงนี้ ลูกหมาจะขาดการเรียนรู้เรื่องการสื่อสาร อาจทำให้ไม่รู้ความหมายของการขู่เตือนเมื่อไปเจอหมาตัวอื่นๆ ที่โตกว่า ซึ่งอาจทำให้ถูกทำร้ายได้ ด้วยเหตุผลนี้ เราจึงยังไม่ควรแยกลูกหมาออกจากแม่ในช่วงนี้ค่ะ  ...

     ช่วงอายุ 8 สัปดาห์ : สมองของลูกหมาในวัยนี้มีขนาดเกือบเท่ากับสมองของหมาที่โตแล้ว ลูกหมาจะเริ่มหย่านมและจะมีพฤติกรรมร่่าเริงและซุกซนตลอดเวลา ผู้เลี้ยงน้องหมาหลายคนอาจจะคิดว่าช่วงนี้อาจจะเป็นช่วงที่เหมาะแก่การแยกลูกหมาออกจากแม่ ... แต่ในความเป็นจริงแล้ว ช่วงนี้จะเป็นช่วงนี้ลูกหมากำลังเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมซึ่งกันและกัน และเป็นช่วงที่ลูกหมาเริ่มจะติดเจ้าของ ถ้าหากมีการแยกลูกหมาออกจากแม่และพี่น้องในครอกในตอนนี้ จะทำให้ลูกหมาไม่มีโอกาสเรียนรู้สังคมของหมาด้วยกัน ไม่รู้จักการอยู่ร่วมกันเป็นฝูง ไม่เข้าใจการสื่อสารระหว่างหมาด้วยกัน และในขณะเดียวกัน ถ้าหากไม่ให้ลูกหมาเจอกับเจ้าของหรือสมาชิกในครอบครัวเลยก็จะทำให้ลูกหมาโตขึ้นเป็นหมาที่มีนิสัยกลัวคน และปรับตัวเข้ากับคนได้ยาก ดังนั้น จึงควรให้ลูกหมาได้เรียนรู้พฤติกรรมต่าง ๆ ของแม่และพี่น้องในครอก ไปพร้อม ๆ กับได้ใกล้ชิดกับเจ้าของและสมาชิกในครอบครัวด้วยค่ะ

     ช่วงอายุ 9-10 สัปดาห์ : ลูกหมาจะเริ่มมีความมั่นใจ และกระตือรือร้นกับสิ่งรอบตัว รวมไปถึงการอยากที่จะอยู่ใกล้ๆ เจ้าของ และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ช่วงนี้เป็นช่วงที่เจ้าของควรเริ่มที่จะพาลูกหมาออกสังคมบ่อยขึ้น โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าของ เช่น หมั่นพาลูกหมาไปเดินเล่น และพบกับหมาตัวอื่นๆ ในบริเวณใกล้บ้าน , พาไปวิ่งออกกำลังกาย และทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับครอบครัว ฯ และเมื่อลูกหมาคุ้นเคยกับการเข้าสังคมและการอยู่ร่วมกับเจ้าของแล้ว ทีนี้ก็ได้เวลาแล้วล่ะค่ะ ที่เราจะให้ลูกหมาแยกจากแม่อย่างสมบูรณ์แบบ

     และหลังจากช่วงอายุ 10 สัปดาห์เป็นต้นไป การดูแลลูกหมาก็จะอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เลี้ยงโดยสมบูรณ์ ผู้เลี้ยงจึงต้องมีการวางแผนการเลี้ยงอย่างถูกต้องเหมาะสม โดยในช่วง 2 อาทิตย์แรกที่นำลูกหมาเข้าบ้าน เจ้าของต้องสอนให้น้องหมารู้จักกฎของบ้านหลังใหม่ ว่าตัวของลูกหมามีชื่อว่าอะไร ใครคือจ่าฝูง สอนให้รู้จักที่ขับถ่าย ที่กินอาหาร ที่นอนหรือกรอง และเมื่อทำถูกต้องเขาจะได้รับคำชม ซึ่งในช่วงนี้เจ้าของไม่ควร "พูดเล่น" กับลูกหมา การเรียกชื่อด้วย เล่นกับลูกหมา สั่งให้ทำตามคำสั่งไปด้วยจะทำให้ลูกหมาสับสน แยกไม่ออกว่าคำไหนคือเรียกชื่อ คำไหนคือคำสั่ง ทำให้ลูกหมาไม่สามารถจดจำหรือเรียนรู้สิ่งที่เจ้าของสื่อสารได้ แถมเสียงสูงแหลมเล็กของเจ้าของยังทำให้ลูกหมาตื่นตัว คิดว่าเจ้าของกำลังเล่นด้วย ก็จะยิ่งทำให้ควบคุมได้ยากขึ้นด้วย ดังนั้นในช่วง 2 อาทิตย์แรกควรให้ลูกหมาได้เรียนรู้แค่ ชื่อ และคำสั่งพื้นฐานง่าย ๆ เช่น นั่ง สวัสดี คอย เมื่อลูกหมาทำได้ก็ควรให้คำชมด้วย หลังจากนี้จึงค่อย ๆ ให้ลูกหมาเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เพิ่มค่ะ

 

คู่มือเลี้ยงหมาเด็ก(มา)ใหม่ แบบไร้กังวล


     การเลี้ยงลูกหมาให้เติบโตมาเป็นน้องหมาที่มีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงสมวัยนั้น หลักสำคัญก็คือต้องเลี้ยงน้องหมาอย่างมีสมดุลระหว่างการฝึกน้องหมาให้อยู่ในระเบียบของบ้านและการให้น้องหมาได้เป็นอิสระตามธรรมชาติ โดยผู้เลี้ยงอาจเริ่มจากการสังเกตพฤติกรรมนิสัยของลูกหมาก่อนว่ามีนิสัยอย่างไร ถ้าหากเป็นลูกหมาที่มีนิสัยซุกซน พลังงานสูง และมีแนวโน้มว่าจะแสดงอำนาจในการเป็นจ่าฝูง (แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว เช่น ขู่เห่าเจ้าของ , กัดแทะตามร่างกายเจ้าของ เป็นต้น) ให้เริ่มการจัดระเบียบลูกหมาให้อยู่ภายใต้คำสั่งของผู้เลี้ยงให้ได้ก่อนค่ะ


Dogilike.com :: หมาเด็ก(มา)ใหม่ ต้องรับมือยังไงถึงจะเอาอยู่


     >> เริ่มต้นฝึกลูกหมาให้ฟังเจ้าของด้วยคำสั่งพื้นฐานต่าง ๆ
     อย่าคิดว่าลูกหมายังเด็กโตแล้วค่อยฝึก เพราะลูกหมาที่เติบโตโดยอิสระ ผู้เลี้ยงตามใจไร้การควบคุมจะทำให้น้องหมาเข้าใจว่าตัวเองนั้นมีอำนาจในการแสดงพฤติกรรมหรือทำสิ่งต่าง ๆ ที่อาจไม่เหมาะสมได้อย่างเต็มที่ ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลในระยะยาวต่อพฤติกรรมที่จะเป็นปัญหาในตอนโต เช่น ก้าวร้าว , ทำลายข้าวของ เป็นต้น ดังนั้น เราจึงควรฝึกลูกหมาตั้งแต่พาเข้ามาอยู่ในบ้านโดยสิ่งที่ต้องฝึกคือคำสั่งพื้นฐานเพราะเป็นคำสั่งที่ใช้ร่วมกับการให้ลูกหมาทำตามกฎระเบียบของบ้าน และใช้เมื่อต้องออกไปเข้าสังคม โดยคำสั่งพื้นฐานนี้ประกอบด้งบ คำสั่ง "ชิด" ให้ลูกค้าเดินชิดเจ้าของไม่ว่าจะมีสายจูงหรือไม่มี , มาหาเมื่อเรียกชื่อ , นั่ง , รอ , คอย , หมอบ การฝึกอย่างต่อเนื่องจากจะทำให้ลูกค้ารู้จักระเบียบและคำสั่งต่าง ๆ แล้ว ยังช่วยให้ง่ายต่อการควบคุม ลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาพฤติกรรมต่าง ๆ และเมื่อพาออกไปเข้าสังคมลูกหมาของเราก็จะเป็นลูกหมานิสัยดี ไม่สร้างความเดือดร้อนให้คนอื่นอีกด้วยค่ะ

     >> จัดสรรที่อยู่ให้ลูกหมาอย่างเหมาะสม
     รักหมาเหมือนลูกได้ แต่อย่าเลี้ยงหมาเหมือนลูก ... ผู้เลี้ยงหลายคนชอบนำน้องหมาไปนอนด้วยบนเตียงหรือที่นอนของตัวเอง ถึงแม้ว่านั่นจะเป็นวิธีการแสดงความรักแต่ในอีกทาง นั่นคือการสปอยล์น้องหมาทำให้เขารู้สึกว่าอยู่ในสถานะเดียวกับเจ้าของ การจัดที่นอนหรือที่อยู่ให้ลูกหมาที่เหมาะสมที่สุดคือ การแบ่งแยกที่อยู่ให้ชัดเจน อาจเป็นมุมในมุมหนึ่งของห้อง เมื่อถึงเวลานอนให้ลูกหมานอนในที่ของตัวเอง เมื่อถึงเวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ ลูกหมาสามารถอยู่กับเจ้าของได้ แต่เมื่อถึงเวลาเข้าที่ลูกหมาจะต้องรู้ที่อยู่ของตัวเอง ซึ่งการแบ่งที่อยู่อย่างชัดเจนนี้จะส่งผลดีต่อการควบคุมลูกหมา และเป็นการปล่อยให้ลูกหมาได้มีอิสระในพื้นที่ของตัวเอง และไม่ผูกติดกับเจ้าของจนเกินไป

     >> จัดการโภชนาการที่เหมาะสมให้กับลูกสุนัข
     จริง ๆ แล้วการจัดการโภชนาการอาหารให้ลูกหมาเป็นสิ่งที่ไม่วุ่นวาย เพราะในปัจจุบันมีอาหารสุนัขสำเร็จรูปได้แบ่งตามช่วงวัยอย่างชัดเจน ซึ่งเจ้าของสามารถเลือกสูตรที่เหมาะสมให้กับน้องหมาได้โดยการดูช่วงอายุและสายพันธุ์ของน้องหมาเป็นหลักค่ะ ลูกหมาที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษอย่างเช่นน้องหมาที่แพ้โปรตีน หรือต้องการบำรุงขนเป็นพิเศษก็มีสูตรอาหารรองรับ ซึ่งหากไม่มั่นใจว่าอาหารสูตรไหนเหมาะกับลูกหมาของเราก็สามารถปรึกษากับสัตวแพทย์ได้ ซึ่งหากน้องหมาได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนก็จะส่งผลให้พวกเขามีพัฒนาการทั้งด้านร่างกายและสมองที่เติบโตสมวัยค่ะ ... สิ่งสำคัญที่ควรระวังก็คือ ไม่ควรให้ลูกหมากินอาหารคนและไม่ควรให้อาหารเสริมกับลูกหมาโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากสัตวแพทย์ เพราะการให้ลูกหมากินอาหารคนนอกจะทำให้ในระยะยาวเขาไม่ยอมกินอาหารสำหรับน้องหมาแล้ว ยังอาจทำให้ลูกหมาได้รับสารอาหารที่ไม่ครบถ้วน และอาจจะเสี่ยงต่ออาหารคนที่เป็นพิษต่อร่างกายน้องหมาอีกด้วยค่ะ ส่วนการเสริมอาหารโดยพลการก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพน้องหมาได้เช่นกันค่ะ

     >> ลูกหมาควรได้รับการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
     การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมจะช่วยพัฒนาร่างกายของลูกหมาให้เจริญเติบโตสมวัย นอกเหนือจากกนี้ การให้ลูกหมาออกกำลังกายเป็นช่วยให้ลูกหมาได้ปลดปล่อยพลังงาน เพราะโดยธรรมชาติลูกหมาจะมีพลังงานสูงซึ่งอาจจะเป็นอีกหนึ่งในสาเหตที่ทำให้เจ้าของควบคุมลูกหมาไม่ค่อยได้ ฝึกยาก การให้ลูกหมาได้ปลดปล่อยพลังงานจะทำให้ร่างกายลูกหมาสมดุล ซึ่งเป็นผลดีต่อสภาพจิตใจของลูกหมาด้วย

     >> พาเข้าสังคมอย่างสม่ำเสมอ
     การฝึกให้ลูกหมาเข้าสังคมจะช่วยให้ลูกหมามีพัฒนาการและเปิดรับประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้ดี ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ลูกหมาได้รับจะมีผลต่อนิสัยของลูกหมา การที่เจ้าของพาลูกหมาไปเข้าสังคมจะเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยฝึกวินัยให้กับพวกเขา ลูกหมาที่มีปัญหาการเข้าสังคม หรือไม่สามารถเข้าสังคมได้เลย จะมีพฤติกรรมก้าวร้าวในเวลาต่อมา ซึ่งความก้าวร้าวที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากความกลัว และความไม่มั่นคงที่สะสมนั่นเองทำให้เขาต้องป้องกันตัวด้วยความดุร้าย แล้วยิ่งลูกหมาตื่นกลัวมากขึ้น พลังงานที่แผ่ออกมาไม่สมดุล ก็จะยิ่งตกเป็นเป้าสายตาน้องหมาตัวอื่น ส่งผลให้ลูกหมายิ่งรู้สึกแย่ และแปลกแยกมากกว่าเดิม เพราะได้รับประสบการณ์การเข้าสังคมที่เลวร้ายมากขึ้นนั่นเอง นี่จึงเป็นเหตุผลให้ผู้เลี้ยงควรแบ่งเวลาพาลูกหมาไปเข้าสังคมอย่างสม่ำเสมอ เพราะการเข้าสังคมจะเป็นการช่วยส่งเสริมให้ลูกหมามีสุขภาพจิตที่ดีและช่วยให้ลูกหมาได้เรียนรู้และปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ได้ดีนั่นเองค่ะ


     ใครที่กำลังจะรับลูกหมาตัวใหม่เข้าบ้านก็ลองนำวิธีต่าง ๆ ที่แนะนำไปใช้ดูนะคะ แรก ๆ อาจจะยุ่งยากไปบ้างแต่เมื่อทุกอย่างลงตัว รับรองเลยค่ะว่าทั้งคุณและน้องหมาจะมีความสุขร่วมกันแบบสุด ๆ ไปเลยล่ะค่ะ

Cr.Dogilike

 

 

แคตตาล็อก
Read More
แมวเป็นสิ่งมีชีวิตที่ พร้อม จะอยู่กับเราไปทั้งชีวิต
แมวเป็นสิ่งมีชีวิตที่ พร้อม จะอยู่กับเราไปทั้งชีวิต ...
By dictip 2024-04-11 00:52:32 0 18
สุนัขหนาวทำไง สุนัขหนาวสั่น โรค สุนัข หน้าหนาว สุนัขในเขต หนาว ชิ ว่า ว่า หนาว ชิ ว่า ว่า ไม่ยอม ใส่เสื้อ วิธี อาบน้ำ สุนัข หน้าหนาว อุณหภูมิ ที่เหมาะสม กับ สุนัข
หน้าหนาว คนเลี้ยงสุนัขต้องระวังอะไรบ้าง ถึงแม้อากาศหนาวในบ้านเราจะไม่หนาวเท่ากับต่างประเทศ...
By dictip 2021-01-11 03:57:15 0 692
สุนัขชอบเล่นอะไร วิธีผูกมิตรกับสุนัข เล่นกับสุนัข เกม My Dog เล่น ยัง ไง เล่นกับสุนัข ภาษาอังกฤษ ของเล่นสุนัข สุนัขชอบให้ลูบตรงไหน สุนัข จํา เจ้าของได้ ยัง ไง
5 กิจกรรมสนุก ๆ เล่นเพลิน ๆ ที่เจ้าของสามารถเล่นกับลูกสุนัขได้ Written by Ploy in ลูกสุนัข...
By dictip 2022-09-05 02:51:19 0 812
ไข้หัดสุนัข  ลำไส้อักเสบ
1. ไข้หัดสุนัข  ลำไส้อักเสบ  หลอมลมอักเสบ   ปอดบวม      ...
By dictip 2019-12-22 16:24:21 0 6213
อาหารคนที่สุนัขกินได้ อาหารของสุนัขมีอะไรบ้าง สุนัขกินอาหารคนได้ไหม อาหารที่สุนัขชอบกิน อาหารที่สุนัขไม่ควรกิน สุนัขห้ามกินตับ สุนัขกินตับหมูได้ไหม ปอมกินข้าวได้ไหม
1.ไข่ต้ม      ส่วนประกอบหลักอย่างไข่นั้นมีประโยชน์แก่เจ้าตูบเป็นอย่างมาก...
By dictip 2021-12-22 01:48:00 0 282