ความผิดปกติของการก้าวย่างในสุนัข

การเดินขากะเผลกในสุนัขนั้น ถือเป็นอาการทางคลินิกของความผิดปกติที่มีความรุนแรง ส่งผลทำให้ไปรบกวนการก้าวย่างและการเคลื่อนไหว โดยทั่วไปมักพบเป็นการตอบสนองต่อความเจ็บปวด การบาดเจ็บ หรือความผิดปกติทางโครงสร้างของกาย

อาการและประเภทของขากะเผลก

ขากะเผลกอาจเป็นเพียงหนึ่งขาหรืออาจเป็นมากกว่าหนึ่งขา ความรุนแรงจะมีความหลากหลายแล้วแต่ความเจ็บปวดและความสามารถในการลงน้ำหนักที่ขาแต่ละข้าง ถ้าหากว่าเป็นเพียงแค่ขาหน้าข้างเดียว จะพบว่าศีรษะและลำคอจะยกขึ้นเมื่อทำการลงน้ำหนักข้างที่เจ็บ และจะก้มลงเมื่อขาอีกข้างที่ไม่มีความบาดเจ็บรับน้ำหนัก ในแต่ขณะเดียวกัน ถ้าหากว่าหลังข้างใดข้างหนึ่งได้รับบาดเจ็บ ศีรษะและช่วงของลำคอจะยกขึ้นเมื่อขาข้างนั้นไม่ลงน้ำหนัก แต่ถ้าขาหลังทั้งสองข้างได้รับการบาดเจ็บ ขาหน้าจะมีลักษณะย่อลงเพื่อถ่ายน้ำหนักไปทางขาหน้า ขากะเผลกสามารถรุนแรงขึ้นได้ภายหลังการออกกำลังกายอย่างหนักหรือการพักผ่อนเป็นเวลานาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสุขภาพประจำปีทุกช่วงวัย

? จูงมือกันไปตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อคัดกรองความเสี่ยงโรคร้ายต่างๆ กันดีกว่า หากตรวจพบเร็ว ก็รักษาหายเร็ว

อาก าร ขา สุนัข ไม่มี แรง โก เด้ น ดำ

อาการอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องกับอาการขากะเผลก ประกอบด้วย

  • ความเจ็บปวด
  • ยืดขา หดขาได้น้อยลง
  • กล้ามเนื้อฝ่อเล็กลง
  • ท่าทางการยืน การลุก การนอน หรือการนั่งมีความผิดปกติ
  • มีการก้าวย่างผิดปกติขณะเดิน วิ่ง เดินขึ้นบันได หรือการเดินเป็นวง
  • มีอาการทางประสาท เช่น สับสน มึนงง สั่น เป็นต้น
  • กระดูกและข้อต่ออาจมีขนาดที่ผิดปกติไป
  • มีเสียงข้อต่อดังขณะเคลื่อนไหว
 

สาเหตุของการเดินกะเผลก

การเดินกะเผลกที่บริเวณขาหน้าในสุนัขที่กำลังโต อายุน้อยกว่า 12 เดือน

  • เกิด Osteochodrosis ที่บริเวณหัวไหล่ จากความผิดปกติของกระดูกที่มักเกิดกับสุนัขในวัยเจริญเติบโต
  • หัวไหล่อยู่ผิดตำแหน่ง
  • เกิด Osteochodrosis ที่บริเวณข้อศอก
  • การไม่เชื่อมของ anconeal process ทำให้เกิดข้อศอกเคลื่อน และทำให้เซลล์ในเนื้อเยื่อมีการเจริญอย่างผิดปกติ
  • มีการหักของ medial coronoid ทำให้ข้อศอกเกิดการเสื่อม
  • ข้อศอกสบกันไม่พอดี เนื่องจากกระดูกมีการเจริญเติบโตที่ไม่เท่ากัน
  • มีการขาดหรือมีการสะสมของแคลเซียมที่กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการหดตัวของข้อศอก
  • กระดูก Radius และ Ulna มีการเจริญเติบโตที่ไม่เท่ากัน
  • กระดูกมีการอักเสบ
  • ภาวะที่เลือดไปเลี้ยงกระดูกที่อยู่ติดกับข้อต่อน้อยลง
  • เนื้อเยื่อ กระดูก หรือข้อต่อถูกกระทบกระเทือน
  • มีการติดเชื้อเฉพาะที่หรือทั่วร่างกาย
  • สารอาหารไม่สมดุล
  • ความผิดปกติที่เป็นมาแต่กำเนิด

ขากะเผลกที่บริเวณขาหน้าในสุนัขโต ที่มีอายุมากกว่า 12 เดือนขึ้นไป

  • โรคข้อเสื่อม เป็นการเสื่อมที่รุนแรงและถาวรของกระดูกอ่อนที่บริเวณข้อต่อ
  • มีการอักเสบที่บริเวณเอ็นยึดกล้ามเนื้อ Biceps
  • มีการสะสมแคลเซียมหรือแร่ธาตุที่เอ็นของ Supraspinatus และ Infraspinatus
  • มีการหดสั้นขึ้นของกล้ามเนื้อ Supraspinatus และ Infraspinatus เนื่องจากการเป็นแผลเป็น เป็นอัมพาต และกล้ามเนื้อมีการหดเกร็ง
  • มะเร็งที่กระดูกหรือเนื้อเยื่อ อาจพบว่าอยู่ในระยะแรก หรืออาจมีการแพร่กระจายแล้ว
  • เนื้อเยื่อ กระดูก หรือข้อต่อถูกกระทบกระเทือน
  • กระดูกอักเสบ
  • การอักเสบของระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างร่วมกับข้อต่อ
  • การอักเสบของกล้ามเนื้อ
  • การอักเสบของเส้นประสาทเป็นวงกว้าง

ขากะเผลกที่ขาหลังในสุนัขที่กำลังโต มีอายุน้อยกว่า 12 เดือน

  • ภาวะข้อสะโพกเสื่อม คือมีการเจริญของเซลล์ที่มากเกินไป
  • มีเนื้อตายที่บริเวณหัวกระดูก Femur เรียกว่า โรค Legg-Calvé-Perthes คือการที่หัวกระดูกได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ ทำให้หัวกระดูกเกิดเนื้อตาย
  • Osteochondritis ที่บริเวณหัวเข่า รอยแตกที่กระดูกมีการหลวมภายในข้อเข่า
  • ลูกสะบ้าเคลื่อน มีทั้งเคลื่อนไปทางด้านนอกและทางด้านใน
  • Osteochondritis ที่บริเวณข้อเท้า
  • กระดูกอักเสบ
  • เลือดไปเลี้ยงที่บริเวณกระดูกที่ติดกับข้อต่อลดลง
  • มีการกระทบกระเทือนต่อเนื้อเยื่อ กระดูก หรือข้อต่อ
  • มีการติดเชื้อเฉพาะที่หรือทั้งระบบ
  • สารอาหารไม่สมดุล
  • ความผิดปกติที่เป็นมาแต่กำเนิด
  • สารอาหารไม่สมดุล
  • ความผิดปกติที่เป็นมาแต่กำเนิด

ขากะเผลกที่บริเวณขาหลังในสุนัขโตที่อายุมากกว่า 12 ปี

  • โรคข้อเสื่อม พบมีการบิดของกระดูกอ่อนที่บริเวณข้อต่อ เกิดภายหลังจากการเป็นข้อสะโพกเคลื่อน จะมีการสร้างที่ผิดปกติที่บริเวณข้อสะโพก
  • โรคของเอ็นไขว้หน้า ส่วนมากจะเป็นการฉีกขาดที่บริเวณข้อเข่า
  • การฉีกขาดของเอ็นกล้ามเนื้อ Long digital extensor เป็นกล้ามเนื้อที่ใช้เหยียดนิ้วเท้า
  • เนื้องอกที่เนื้อเยื่อหรือกระดูก อาจจะเป็นขึ้นแรกหรือพบการแพร่กระจายแล้ว
  • กล้ามเนื้อ กระดูกหรือข้อต่อได้รับการกระทบกระเทือน
  • กระดูกอักเสบ
  • พบการอักเสบของระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างร่วมกับข้อต่อ
  • เส้นประสาทมีการอักเสบอย่างกว้างขวาง

ปัจจัยเสี่ยง

  • ขนาดของแต่ละสายพันธุ์
  • น้ำหนักตัวที่มากเกิน
  • ความถี่และความรุนแรงของกิจกรรม

การวินิจฉัย

สัตวแพทย์จะทำการตรวจร่างกายสุนัขอย่างละเอียด รวมทั้งทำการซักประวัติเกี่ยวกับอาการและสิ่งต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดขากะเผลก วิธีการตรวจที่มาตรฐานจะประกอบไปด้วย การตรวจค่าเลือด การตรวจทางเคมี และการนับเม็ดเลือด ร่วมกับการตรวจปัสสาวะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสุขภาพประจำปีทุกช่วงวัย

? จูงมือกันไปตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อคัดกรองความเสี่ยงโรคร้ายต่างๆ กันดีกว่า หากตรวจพบเร็ว ก็รักษาหายเร็ว

 

เนื่องจากสาเหตุของขากะเผลกนั้นมีเยอะมาก สัตวแพทย์จะต้องมีการทำการวินิจฉัยแยกแยะก่อน และจะทำการคัดออกทีละโรคจนกว่าจะพบโรคที่เป็นสาเหตุโดยแท้จริงและทำการรักษาอย่างเหมาะสม

ขั้นแรกสัตวแพทย์จะทำการแยกระหว่าง สาเหตุจากระบบกล้ามเนื้อและโครงร่าง กับ ระบบประสาทและการเผาพลาญก่อน การตรวจปัสสาวะจะช่วยบอกได้ว่ากล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บหรือไม่ การวินิจฉัยทางภาพถ่าย จะประกอบด้วย การเอ็กซ์เรย์ตรงบริเวณที่ขากะเผลก  Computed tomography (CT) scans และ magnetic resonance imaging (MRI) อาจพบว่ามีการใช้เพื่อวินิจฉัยได้ สัตวแพทย์จะทำการเก็บตัวอย่างน้ำที่ข้อต่อเพื่อนำไปวิเคราะห์รวมถึงเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อหรือกล้ามเนื้อเพื่อตรวจสอบความผิดปกติของการเคลื่อนไหวของร่างกาย

การรักษา

การรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุว่าเกิดจากอะไร ถ้าหากว่าสุนัขของคุณน้ำหนักมากเกินไป คุณเจ้าของอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนการให้อาหาร สัตวแพทย์จะทำการแนะนำให้เจ้าของวางแผนการให้อาหารตามสายพันธุ์ ขนาดตัวสุนัข และอายุ

อาจมีการใช้ยาเข้ามาช่วยเพื่อรักษาอาการและสาเหตุของการเกิด เช่น ยาแก้ปวดจะให้ร่วมกับยาจำพวกสเตียรอยด์ จะช่วยลดในเรื่องของการอักเสบที่กล้ามเนื้อและเส้นประสาท เพื่อกระตุ้นการหายของแผล

การจัดการและความเป็นอยู่

บทบาทเจ้าของและสัตวแพทย์ในช่วงการรักษาจะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัย

การป้องกัน

ถ้าหากคุณเจ้าของท่านใดมีสุนัขสายพันธุ์ขนาดใหญ่ คุณจะต้องระวังเรื่องของน้ำหนักเป็นอย่างมากไม่ให้มากจนเกินไป  ในทางกลับกันถ้าสุนัขของคุณเป็นประเภทชอบใช้พละกำลัง คุณควรที่จะทำการสังเกตและมีการจดบันทึกถึงความเปลี่ยนแปลงในการเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมภายหลังจากออกกำลังกาย เนื่องจากสุนัขพวกนี้มักจะออกกำลังกายมากเกินความจำเป็น

สนับสนุน

สั่งซื้อ CalFlex ตอนนี้ลดราคาจาก 1280 บาท เหลือ 1150 บาทเท่านั้น เลขจดแจ้ง 0108640006


เสริมวิตามิน ซี,วิตามิน บี1, บี2,บี6 โฟเลต,กลูโคซามีน

ส่วนประกอบ

กลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์

วิตามินซี

วิตามินบี 1

วิตามินบี 6

วิตามิน บี 2

โฟลิกแอซิด

นมผง

วิธีใช้ น้ำหนักตัว น้อยกว่า 20 กิโลกรัม ให้กินวันละ 1 เม็ด

น้ำหนักตัวมากกว่า 40 กิโลกรัม ให้กินวันละ 2 เม็ด

แคตตาล็อก
Read More
ตีสุนัข pantip ห้ามตีสุนัข วิธี ดัดนิสัย สุนัข วิธีปราบสุนัขดื้อ ห้ามตีจมูกสุนัข การกด คอ สุนัข พฤติกรรมสุนัข ขู่ เจ้าของ จุดอ่อน สุนัข
       สำหรับเพื่อนๆ ที่เลี้ยงสุนัข คงจะทราบกันดีว่า...
By dictip 2022-11-07 02:51:21 0 695
แมวหายจากบ้านไป 2 ปี
แมวหายจากบ้านไป 2 ปี สร้างความตกใจให้กับเจ้าของเป็นอย่างมาก แมวชื่อแจ็ค หายไปในเมื่อ 2...
By dictip 2024-03-14 02:57:12 0 38
ใครเป็นบ้างอยู่ใกล้ใกล้น้องหมาแล้วอดยิ้มอดกอดไม่ได้
ความรักระหว่างแม่-ลูกนั้น ไม่ว่าจะคนหรือสัตว์ ก็เป็นความรักที่บริสุทธิ์และยิ่งใหญ่เหมือนๆ...
By dictip 2021-09-24 02:42:11 0 385
ทำไม สุนัข ดีใจ เวลาเจอ เจ้าของ สุนัขรักเจ้าของ pantip เวลาของสุนัขกับคน สุนัข เปลี่ยนเจ้าของ รับ สุนัข โตมาเลี้ยง สุนัข กลับบ้านถูก ได้อย่างไร สุนัขเพื่อนรัก คิดถึงสุนัข
ความทรงจำของสุนัข           เมื่อพูดถึงความจำ...
By dictip 2022-01-18 01:15:45 0 839