ความผิดปกติของการก้าวย่างในสุนัข

การเดินขากะเผลกในสุนัขนั้น ถือเป็นอาการทางคลินิกของความผิดปกติที่มีความรุนแรง ส่งผลทำให้ไปรบกวนการก้าวย่างและการเคลื่อนไหว โดยทั่วไปมักพบเป็นการตอบสนองต่อความเจ็บปวด การบาดเจ็บ หรือความผิดปกติทางโครงสร้างของกาย

อาการและประเภทของขากะเผลก

ขากะเผลกอาจเป็นเพียงหนึ่งขาหรืออาจเป็นมากกว่าหนึ่งขา ความรุนแรงจะมีความหลากหลายแล้วแต่ความเจ็บปวดและความสามารถในการลงน้ำหนักที่ขาแต่ละข้าง ถ้าหากว่าเป็นเพียงแค่ขาหน้าข้างเดียว จะพบว่าศีรษะและลำคอจะยกขึ้นเมื่อทำการลงน้ำหนักข้างที่เจ็บ และจะก้มลงเมื่อขาอีกข้างที่ไม่มีความบาดเจ็บรับน้ำหนัก ในแต่ขณะเดียวกัน ถ้าหากว่าหลังข้างใดข้างหนึ่งได้รับบาดเจ็บ ศีรษะและช่วงของลำคอจะยกขึ้นเมื่อขาข้างนั้นไม่ลงน้ำหนัก แต่ถ้าขาหลังทั้งสองข้างได้รับการบาดเจ็บ ขาหน้าจะมีลักษณะย่อลงเพื่อถ่ายน้ำหนักไปทางขาหน้า ขากะเผลกสามารถรุนแรงขึ้นได้ภายหลังการออกกำลังกายอย่างหนักหรือการพักผ่อนเป็นเวลานาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสุขภาพประจำปีทุกช่วงวัย

? จูงมือกันไปตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อคัดกรองความเสี่ยงโรคร้ายต่างๆ กันดีกว่า หากตรวจพบเร็ว ก็รักษาหายเร็ว

อาก าร ขา สุนัข ไม่มี แรง โก เด้ น ดำ

อาการอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องกับอาการขากะเผลก ประกอบด้วย

  • ความเจ็บปวด
  • ยืดขา หดขาได้น้อยลง
  • กล้ามเนื้อฝ่อเล็กลง
  • ท่าทางการยืน การลุก การนอน หรือการนั่งมีความผิดปกติ
  • มีการก้าวย่างผิดปกติขณะเดิน วิ่ง เดินขึ้นบันได หรือการเดินเป็นวง
  • มีอาการทางประสาท เช่น สับสน มึนงง สั่น เป็นต้น
  • กระดูกและข้อต่ออาจมีขนาดที่ผิดปกติไป
  • มีเสียงข้อต่อดังขณะเคลื่อนไหว
 

สาเหตุของการเดินกะเผลก

การเดินกะเผลกที่บริเวณขาหน้าในสุนัขที่กำลังโต อายุน้อยกว่า 12 เดือน

  • เกิด Osteochodrosis ที่บริเวณหัวไหล่ จากความผิดปกติของกระดูกที่มักเกิดกับสุนัขในวัยเจริญเติบโต
  • หัวไหล่อยู่ผิดตำแหน่ง
  • เกิด Osteochodrosis ที่บริเวณข้อศอก
  • การไม่เชื่อมของ anconeal process ทำให้เกิดข้อศอกเคลื่อน และทำให้เซลล์ในเนื้อเยื่อมีการเจริญอย่างผิดปกติ
  • มีการหักของ medial coronoid ทำให้ข้อศอกเกิดการเสื่อม
  • ข้อศอกสบกันไม่พอดี เนื่องจากกระดูกมีการเจริญเติบโตที่ไม่เท่ากัน
  • มีการขาดหรือมีการสะสมของแคลเซียมที่กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการหดตัวของข้อศอก
  • กระดูก Radius และ Ulna มีการเจริญเติบโตที่ไม่เท่ากัน
  • กระดูกมีการอักเสบ
  • ภาวะที่เลือดไปเลี้ยงกระดูกที่อยู่ติดกับข้อต่อน้อยลง
  • เนื้อเยื่อ กระดูก หรือข้อต่อถูกกระทบกระเทือน
  • มีการติดเชื้อเฉพาะที่หรือทั่วร่างกาย
  • สารอาหารไม่สมดุล
  • ความผิดปกติที่เป็นมาแต่กำเนิด

ขากะเผลกที่บริเวณขาหน้าในสุนัขโต ที่มีอายุมากกว่า 12 เดือนขึ้นไป

  • โรคข้อเสื่อม เป็นการเสื่อมที่รุนแรงและถาวรของกระดูกอ่อนที่บริเวณข้อต่อ
  • มีการอักเสบที่บริเวณเอ็นยึดกล้ามเนื้อ Biceps
  • มีการสะสมแคลเซียมหรือแร่ธาตุที่เอ็นของ Supraspinatus และ Infraspinatus
  • มีการหดสั้นขึ้นของกล้ามเนื้อ Supraspinatus และ Infraspinatus เนื่องจากการเป็นแผลเป็น เป็นอัมพาต และกล้ามเนื้อมีการหดเกร็ง
  • มะเร็งที่กระดูกหรือเนื้อเยื่อ อาจพบว่าอยู่ในระยะแรก หรืออาจมีการแพร่กระจายแล้ว
  • เนื้อเยื่อ กระดูก หรือข้อต่อถูกกระทบกระเทือน
  • กระดูกอักเสบ
  • การอักเสบของระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างร่วมกับข้อต่อ
  • การอักเสบของกล้ามเนื้อ
  • การอักเสบของเส้นประสาทเป็นวงกว้าง

ขากะเผลกที่ขาหลังในสุนัขที่กำลังโต มีอายุน้อยกว่า 12 เดือน

  • ภาวะข้อสะโพกเสื่อม คือมีการเจริญของเซลล์ที่มากเกินไป
  • มีเนื้อตายที่บริเวณหัวกระดูก Femur เรียกว่า โรค Legg-Calvé-Perthes คือการที่หัวกระดูกได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ ทำให้หัวกระดูกเกิดเนื้อตาย
  • Osteochondritis ที่บริเวณหัวเข่า รอยแตกที่กระดูกมีการหลวมภายในข้อเข่า
  • ลูกสะบ้าเคลื่อน มีทั้งเคลื่อนไปทางด้านนอกและทางด้านใน
  • Osteochondritis ที่บริเวณข้อเท้า
  • กระดูกอักเสบ
  • เลือดไปเลี้ยงที่บริเวณกระดูกที่ติดกับข้อต่อลดลง
  • มีการกระทบกระเทือนต่อเนื้อเยื่อ กระดูก หรือข้อต่อ
  • มีการติดเชื้อเฉพาะที่หรือทั้งระบบ
  • สารอาหารไม่สมดุล
  • ความผิดปกติที่เป็นมาแต่กำเนิด
  • สารอาหารไม่สมดุล
  • ความผิดปกติที่เป็นมาแต่กำเนิด

ขากะเผลกที่บริเวณขาหลังในสุนัขโตที่อายุมากกว่า 12 ปี

  • โรคข้อเสื่อม พบมีการบิดของกระดูกอ่อนที่บริเวณข้อต่อ เกิดภายหลังจากการเป็นข้อสะโพกเคลื่อน จะมีการสร้างที่ผิดปกติที่บริเวณข้อสะโพก
  • โรคของเอ็นไขว้หน้า ส่วนมากจะเป็นการฉีกขาดที่บริเวณข้อเข่า
  • การฉีกขาดของเอ็นกล้ามเนื้อ Long digital extensor เป็นกล้ามเนื้อที่ใช้เหยียดนิ้วเท้า
  • เนื้องอกที่เนื้อเยื่อหรือกระดูก อาจจะเป็นขึ้นแรกหรือพบการแพร่กระจายแล้ว
  • กล้ามเนื้อ กระดูกหรือข้อต่อได้รับการกระทบกระเทือน
  • กระดูกอักเสบ
  • พบการอักเสบของระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างร่วมกับข้อต่อ
  • เส้นประสาทมีการอักเสบอย่างกว้างขวาง

ปัจจัยเสี่ยง

  • ขนาดของแต่ละสายพันธุ์
  • น้ำหนักตัวที่มากเกิน
  • ความถี่และความรุนแรงของกิจกรรม

การวินิจฉัย

สัตวแพทย์จะทำการตรวจร่างกายสุนัขอย่างละเอียด รวมทั้งทำการซักประวัติเกี่ยวกับอาการและสิ่งต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดขากะเผลก วิธีการตรวจที่มาตรฐานจะประกอบไปด้วย การตรวจค่าเลือด การตรวจทางเคมี และการนับเม็ดเลือด ร่วมกับการตรวจปัสสาวะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสุขภาพประจำปีทุกช่วงวัย

? จูงมือกันไปตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อคัดกรองความเสี่ยงโรคร้ายต่างๆ กันดีกว่า หากตรวจพบเร็ว ก็รักษาหายเร็ว

 

เนื่องจากสาเหตุของขากะเผลกนั้นมีเยอะมาก สัตวแพทย์จะต้องมีการทำการวินิจฉัยแยกแยะก่อน และจะทำการคัดออกทีละโรคจนกว่าจะพบโรคที่เป็นสาเหตุโดยแท้จริงและทำการรักษาอย่างเหมาะสม

ขั้นแรกสัตวแพทย์จะทำการแยกระหว่าง สาเหตุจากระบบกล้ามเนื้อและโครงร่าง กับ ระบบประสาทและการเผาพลาญก่อน การตรวจปัสสาวะจะช่วยบอกได้ว่ากล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บหรือไม่ การวินิจฉัยทางภาพถ่าย จะประกอบด้วย การเอ็กซ์เรย์ตรงบริเวณที่ขากะเผลก  Computed tomography (CT) scans และ magnetic resonance imaging (MRI) อาจพบว่ามีการใช้เพื่อวินิจฉัยได้ สัตวแพทย์จะทำการเก็บตัวอย่างน้ำที่ข้อต่อเพื่อนำไปวิเคราะห์รวมถึงเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อหรือกล้ามเนื้อเพื่อตรวจสอบความผิดปกติของการเคลื่อนไหวของร่างกาย

การรักษา

การรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุว่าเกิดจากอะไร ถ้าหากว่าสุนัขของคุณน้ำหนักมากเกินไป คุณเจ้าของอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนการให้อาหาร สัตวแพทย์จะทำการแนะนำให้เจ้าของวางแผนการให้อาหารตามสายพันธุ์ ขนาดตัวสุนัข และอายุ

อาจมีการใช้ยาเข้ามาช่วยเพื่อรักษาอาการและสาเหตุของการเกิด เช่น ยาแก้ปวดจะให้ร่วมกับยาจำพวกสเตียรอยด์ จะช่วยลดในเรื่องของการอักเสบที่กล้ามเนื้อและเส้นประสาท เพื่อกระตุ้นการหายของแผล

การจัดการและความเป็นอยู่

บทบาทเจ้าของและสัตวแพทย์ในช่วงการรักษาจะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัย

การป้องกัน

ถ้าหากคุณเจ้าของท่านใดมีสุนัขสายพันธุ์ขนาดใหญ่ คุณจะต้องระวังเรื่องของน้ำหนักเป็นอย่างมากไม่ให้มากจนเกินไป  ในทางกลับกันถ้าสุนัขของคุณเป็นประเภทชอบใช้พละกำลัง คุณควรที่จะทำการสังเกตและมีการจดบันทึกถึงความเปลี่ยนแปลงในการเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมภายหลังจากออกกำลังกาย เนื่องจากสุนัขพวกนี้มักจะออกกำลังกายมากเกินความจำเป็น

สนับสนุน

สั่งซื้อ CalFlex ตอนนี้ลดราคาจาก 1280 บาท เหลือ 1150 บาทเท่านั้น เลขจดแจ้ง 0108640006


เสริมวิตามิน ซี,วิตามิน บี1, บี2,บี6 โฟเลต,กลูโคซามีน

ส่วนประกอบ

กลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์

วิตามินซี

วิตามินบี 1

วิตามินบี 6

วิตามิน บี 2

โฟลิกแอซิด

นมผง

วิธีใช้ น้ำหนักตัว น้อยกว่า 20 กิโลกรัม ให้กินวันละ 1 เม็ด

น้ำหนักตัวมากกว่า 40 กิโลกรัม ให้กินวันละ 2 เม็ด

แคตตาล็อก
Read More
สุนัข ขน ฟู สีขาว สายพันธุ์สุนัขเล็ก สุนัขขนปุย 50 สาย พันธุ์ สุนัข สุนัขขนฟู ตัวเล็ก สุนัขขนฟู ตัวใหญ่ สุนัขขนฟูต่างประเทศ สุนัขขนหยิก
เมื่อพูดถึงสุนัขแล้วก็ต้องนึกถึงความน่ารัก ขี้เล่น แสนซน ซื่อสัตย์ และรักเจ้าของ...
By dictip 2021-09-28 01:48:32 0 646
สุนัข แก่ ควร กิน อะไร ที่จะทำให้อายุยืน
สุนัข แก่ ควร กิน อะไร เป็นคำถามหนักใจคนเลี้ยงหมา จะให้อยู่กันไปนานๆ แม้จะพยายามมากเท่าไหร่ก็ยอม...
By dictip 2020-04-29 05:36:03 0 480
สุนัข เอ็น เข้า อักเสบ รักษา เอง ที่บ้าน ได้ ไหม ยาคลายกล้ามเนื้อสุนัข สุนัขเจ็บขา ทําไงดี สุนัข เส้นพลิก ยาแก้ ข้ออักเสบ สุนัข Gabapentin สุนัข สุนัข ข้อเสื่อม สุนัขข้อเท้าบวม
สุนัข เอ็น เข้า อักเสบ รักษา เอง ที่บ้าน ได้ ไหม ยาคลายกล้ามเนื้อสุนัข สุนัขเจ็บขา ทําไงดี สุนัข...
By dictip 2023-03-28 22:28:52 0 723
หมาชอบนอนทั้งวัน
เชื่อว่าทุกคนคงเคยที่จะสังเกตน้องหมาของเราว่าส่วนมากถ้าเราอยู่บ้าน น้องจะไม่ค่อยนอน...
By dictip 2023-11-21 22:29:42 0 276
เมนู ไข่ สำหรับสุนัข สุนัขกินข้าวได้ไหม สุนัขกินอะไรได้บ้าง ข้าวสารให้สุนัข สุนัขชอบกินอะไร สุนัขกินปลากระป๋องได้ไหม สุนัขกินอาหารคน ได้ ไหม ลูกสุนัขกินอะไรได้บ้าง
5 วิธีเลือกอาหารสุนัขให้เหมาะกับวัย แบ่งตามช่วงอายุง่าย ๆ เจ้าตูบได้ประโยชน์เต็ม ๆ...
By dictip 2021-09-19 02:25:25 0 567